ジェイ・スミス JAYSMITHSHOP
HOME
PROMOTION
PRODUCT
Order Tires
MARKETING
สาระความรู้ต่างๆของสินค้า
CONTACT
QUICK SHIFTER
SHIFT KNOB
Energy Bushing
ASIMO
TIRES
SSR WHEELS
ความรู้เรื่องเติมลมยางรถยนต์
ความรู้เรื่องน้ำมันเครื่องรถยนต์
ความรู้เรื่องล้อแม็คและน๊อต
ความรู้เกี่ยวกับการโอนรถ
ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับรถยนต์
ความรู้เรื่องยางรถยนต์
ความรู้เรื่องแบตเตอรี่รถยนต์
ความรู้เรื่องการล้างรถ รักษาสีรถยนต์
ความรู้เรื่องประกันภัยรถยนต์
เล่าเรื่องราว สบู่ ซาวอน เดอ มาร์เซย์
สรรพคุณสบู่ 10ประการ
NEWS
List
ความหมายของคำว่าน้ำมันเครื่อง
น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ (อังกฤษ: motor oil, engine oil) หรือ เรียกกันโดยทั่วไปว่า น้ำมันหล่อลื่น หรือ น้ำมันเครื่อง ประกอบไปด้วย 2 ส่วนที่สำคัญคือ น้ำมันพื้นฐาน และสารเพิ่มคุณภาพ น้ำมันเครื่องมีหน้าที่ลดแรงเสียดทานของวัตถุชิ้นที่เสียดสีกัน ระบายความร้อนของเครื่องยนต์ เคลือบช่องว่างระหว่างผิวสัมผัส ทำความสะอาดเขม่าและ เศษโลหะภายในเครื่องยนต์ ป้องกันการกัดกร่อนจากสนิมและกรดต่างๆ และป้องกันกำลังอัด ของเครื่องยนต์รั่วไหล เป็นต้น
น้ำมันเครื่องชนิดใดเหมาะสำหรับรถของคุณ
เครื่องยนต์แต่ละชนิดมีเทคโนโลยี และการดีไซน์ของเครื่องยนต์ที่ต่างกัน ดังนั้น คุณสมบัติของน้ำมันเครื่องที่ใช้จึงต่างกัน อันดับแรกควรเลือกชนิดน้ำมันเครื่องให้เหมาะสมกับชนิดของเครื่องยนต์ท่าน อาทิ เครื่องยนต์รถยนต์เบนซินควรเลือกใช้น้ำมันที่ออกแบบสำหรับเครื่องยนต์รถยนต์เบนซินโดยเฉพาะ ได้แก่ น้ำมันเครื่องในตระกูล PERFROMA หากเป็นเครื่องยนต์ดีเซล ก็ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่ออกแบบสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลโดยเฉพาะ ได้แก่น้ำมันเครื่องในตระกูล DYNAMIC หรือหากเป็นรถจักรยานยนต์ ก็ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่ออกแบบสำหรับรถจักรยานยนต์โดยเฉพาะ เป็นต้น
ความหนืดคืออะไร ดูได้อย่างไร
ความหนืด คือ ความข้น–ใส ของน้ำมันหล่อลื่นนั้นๆ ซึ่งกำหนดโดยองค์กรวิศวกรรมยานยนต์(SAE) จากอเมริกา โดยความหนืดจะระบุเป็นตัวเลขตามหลังตัวอักษร SAE เช่น SAE 10W-30 หรือ SAE 5W-40 เป็นต้น นอกจากนี้ ควรพิจารณาเลือกใช้ความหนืดที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ โดยท่านสามารถดูได้จากหนังสือคู่มือรถยนต์ ของท่านเพื่อประกอบการตัดสินใจ
เราจะทราบได้อย่างไรว่าน้ำมันเครื่องตัวไหนดีกว่ากัน
สามารถดูได้จากมาตรฐานคุณภาพ โดยที่นิยมใช้กันทั่วโลก คือ มาตรฐาน API (American Petroleum Institute Standard) จากอเมริกา โดยมาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์เบนซินจะกำกับด้วย “S” เช่น API SM หรือ API SL เป็นต้น ส่วนมาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลจะกำกับด้วย “C” เช่น API CF-4 หรือ API CI-4 เป็นต้น ทั้งนี้ ระดับมาตรฐานที่แตกต่างกันจะบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของน้ำมันเครื่องในแต่ละหัวข้อคุณสมบัติที่ทำการทดสอบ และมาตรฐานที่สูงกว่าสามารถใช้ทดแทนมาตรฐานที่ต่ำกว่าได้ โดยปัจจุบันน้ำมันเครื่องของ ปตท. ได้ถูกพัฒนามาให้ครอบคลุมมาตรฐานคุณภาพระดับสูง ตัวอย่าง เช่น น้ำมันเครื่องที่ผ่านมาตรฐาน API SM เปรียบเทียบกับ API SL จะให้คุณสมบัติที่ดีขึ้นในด้านต่างๆ ดังนี้
- ป้องกันการสึกหรอสูงขึ้น (Wear protection)
- รักษาความสะอาดเครื่องยนต์ดีขึ้น (oxidation control and piston deposit control)
- ลดการระเหย (Evaporative loss)
- ช่วยยืดอายุการเปลี่ยนถ่าย(Draining period)
- ช่วยยืดอายุกรองไอเสีย (Catalytic converter)
น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดสูง ดีกว่าน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดต่ำจริงหรือไม่
ไม่จริง ความหนืดมิได้เป็นตัวบอกคุณภาพของน้ำมันเครื่องนั้น ๆ มาตรฐานคุณภาพ เช่น API หรือ ACEA ต่างหากที่เป็นตัวบ่งบอกคุณภาพของน้ำมันเครื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดที่เหมาะสมกับสภาพของเครื่องยนต์ และสภาพการใช้งานของท่าน เช่น หากรถของท่านเป็นรถใหม่ ก็ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีเบอร์ความหนืดใส จะช่วยในการประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น เช่น SAE 10W-30 เป็นต้น แต่หากรถของท่านเป็นรถเก่า มีอาการกินน้ำมันเครื่อง ก็ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีเบอร์ความหนืดที่ข้นมากขึ้น เพื่อช่วยลดปัญหาการกินน้ำมันเครื่อง เช่น SAE 20W-50 เป็นต้น
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Synthetic) ดีกว่าน้ำมันเครื่องทั่วไปอย่างไร
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์มีคุณสมบัติที่เหนือกว่าน้ำมันเครื่องที่ใช้น้ำมันพื้นฐานทั่วไป ในเรื่องของความเสถียรที่อุณหภูมิสูง และไหลได้ดีที่อุณหภูมิต่ำ เป็นผลทำให้ ช่วยให้สตาร์ทเครื่องง่าย ลดการสึกหรอจากการสตาร์ท รวมทั้งป้องกันการเกิดคราบตะกอน ช่วยให้เครื่องยนต์สะอาด นอกจากนี้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์สามารถสร้างฟิล์มน้ำมันที่แข็งแรง จึงสามารถป้องกันเครื่องยนต์จากการสึกหรอได้สูงกว่า และทำให้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์จึงช่วยยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานกว่าน้ำมันเครื่องทั่ว ๆ ไปอีกด้วย
สามารถนำน้ำมันเครื่องต่างยี่ห้อ ต่างระดับชั้นคุณภาพ มาผสมกันเพื่อใช้งานได้หรือไม่
ได้ เนื่องจากน้ำมันเครื่อง ปตท. มีคุณสมบัติในการเข้ากันได้กับน้ำมันเครื่องทุกยี่ห้อ แต่อย่างไรก็ตามคุณภาพของน้ำมันที่สูงกว่าเมื่อผสมกับน้ำมันที่คุณภาพต่ำกว่า จะทำให้ประสิทธิภาพของน้ำมันเครื่องที่ดีลดลงไปตามสัดส่วนการผสม ดังนั้น หากเป็นการใช้งานในสภาวะปกติทั่ว ๆ ไป แนะนำให้ไม่ควรผสมน้ำมันเครื่องต่างยี่ห้อ หรือต่างระดับชั้นคุณภาพครับ
น้ำมันเครื่องใหม่ที่มีสีเข้ม มีคุณภาพดีกว่านำมันเครื่องใหม่ที่มีสีอ่อนใสกว่า จริงหรือไม่
ไม่จริง เพราะสีของน้ำมันเครื่องใหม่ ไม่สามารถบ่งบอกคุณภาพของน้ำมันเครื่องได้ เพราะสีเป็นเพียงคุณสมบัติภายนอกของน้ำมันเครื่องเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม น้ำมันเครื่องที่ดี ควรจะมีลักษณะใส ไม่ขุ่น รวมถึงไม่มีฝุ่นละออง หรือน้ำ ปนเปื้อนอยู่ในเนื้อน้ำมันครับ
น้ำมันเครื่องใช้แล้วเป็นสีดำเร็ว แสดงว่าเป็นน้ำมันเครื่องที่ไม่ดีใช่หรือไม่
โดยปกติแล้ว น้ำมันเครื่องเมื่อเปลี่ยนถ่าย และใช้งานไประยะหนึ่งจะมีสีที่เข้มขึ้น เนื่องจากน้ำมันเครื่องที่ดี จะช่วยกระจายเขม่าที่เกิดจากการเผาไหม้ รวมถึงช่วยชะล้างทำความสะอาดสิ่งสกปรกภายในเครื่องยนต์ ให้มาผสมอยู่ในเนื้อของน้ำมันเครื่อง ทำให้น้ำมันเครื่องเปลี่ยนเป็นเข้ม หรือดำ โดยที่น้ำมันเครื่องนั้น ๆ ยังสามารถคงความหนืดได้ดังเดิม แต่หากน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว มีสีดำ และมีลักษณะที่ข้น หรือเหนียวขึ้น ถือว่าเป็นน้ำมันเครื่องที่คุณภาพต่ำครับ ดังนั้น น้ำมันเครื่องดำไม่ใช่ปัญหาครับ
จำเป็นหรือไม่ที่ต้องเติมหัวเชื้อ เพิ่มลงน้ำมันเครื่อง
ไม่จำเป็น หากท่านเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีมาตรฐานเทียบเท่า หรือสูงกว่า มาตรฐานที่ระบุให้ใช้ในคู่มือรถยนต์ของท่าน เนื่องจากน้ำมันเครื่องที่ได้รับมาตรฐานเทียบเท่า หรือสูงกว่านั้น ได้ผ่านการทดลอง ทดสอบจากองค์กรมาตรฐาน โดยใช้เครื่องมือทดสอบต่าง ๆ อย่างเข้มงวด และหนักหน่วง จึงสามารถใช้งานตามระยะเปลี่ยนถ่ายที่ระบุไว้ในคู่มือรถยนต์ได้โดยไม่ต้องการเติมหัวเชื้อ อีกทั้งการเติมหัวเชื้อน้ำมันเครื่องเพิ่มเข้าไปในระบบจะไปรบกวนการทำงานของ additive บางชนิดที่ถูกรวมอยู่ใน additive packages ที่ผสมในน้ำมันเครื่อง ที่มีการคำนวณสัดส่วนไว้อย่างดีและทำการทดสอบแล้ว อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของน้ำมันเครื่องลดลง ดังนั้น จึงไม่แนะนำให้เติมหัวเชื้อชนิดใด ๆ เพิ่มเข้าไปในน้ำมันเครื่องครับ
ระยะเปลี่ยนถ่ายเท่าใดจึงจะเหมาะสมกับรถยนต์ของท่าน ?
ในคู่มือของรถยนต์แต่ละรุ่น จะระบุความหนืด มาตรฐานคุณภาพขั้นต่ำ รวมถึงระยะเปลี่ยนถ่ายมาตรฐานไว้ แต่เนื่องจากน้ำมันเครื่องมีหลายชนิด และหลายระดับคุณภาพ เช่น น้ำมันสังเคราะห์ กึ่งสังเคราะห์ น้ำมันธรรมดา เป็นต้น รวมถึงระดับปริมาณสารเพิ่มคุณภาพที่ใช้ก็แตกต่างกัน จึงมีความสามารถในการคงคุณสมบัติที่ดีของน้ำมันเครื่องเอาไว้ได้ในระยะเวลาที่ต่างกัน เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนด สารเพิ่มคุณภาพก็จะเสื่อมคุณภาพจนหมด ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะใช้งานเกินระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายที่กำหนด โดยน้ำมันเกรดสังเคราะห์จะเปลี่ยนถ่ายที่ 15,000 กม. กึ่งสังเคราะห์เปลี่ยนถ่ายที่ 10,000 กม. และน้ำมันธรรมดาเปลี่ยนถ่ายที่ 7,000 กม. ครับ
สามารถนำน้ำมันเครื่องต่างชนิดกัน มาใช้แทนกันได้หรือไม่ ?
ในกรณีปกติไม่แนะนำครับ เนื่องจากน้ำมันเครื่องแต่ละชนิดมีวัตถุประสงค์ในการใช้กับเครื่องยนต์ / เครื่องจักรที่แตกค่างกัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากเทคโนโลยี และการดีไซน์ของเครื่องยนต์ ที่ต่างกัน เช่น น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติค่าความเป็นด่างรวม (TBN) สูงกว่า น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน หรือนำเอาน้ำมันเครื่องรถยนต์เบนซิน ไปใช้ในรถจักรยานยนต์ก็ไม่เหมาะสม เป็นต้น ดังนั้น ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องให้เหมาะกับชนิดของเครื่องจักรนั้น ๆ ครับ แต่หากเป็นกรณีฉุกเฉิน หรือเร่งด่วน อาจอนุโลมให้ใช้ทดแทนได้ในช่วงเวลานั้น ๆ จากนั้นต้องรีบเปลี่ยนถ่ายเป็นน้ำมันที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ดังเดิมครับ
น้ำมันเกียร์ยานยนต์กับน้ำมันเกียร์อุตสาหกรรมใช้ปนกันได้หรือไม่
ไม่สามารถใช้ปนกันได้ เนื่องจาก additive ที่เป็นองค์ประกอบนั้นอาจมีลักษณะที่ไม่เข้ากัน ถ้าจะใช้ผสมกันจะทำให้น้ำมันหล่อลื่นนั้นเสื่อมคุณภาพ ทำให้เกิดผลเสียหายต่อชุดเกียร์นั้น ๆ ได้ ดังนั้น ควรเลือกน้ำมันหล่อลื่นมาใช้งานให้ถูกชนิด และประเภทของเครื่องจักร / เครื่องยนต์ครับ
น้ำมันเครื่องที่ซื้อไป สามารถเก็บได้กี่ปี
โดยปกติแล้ว น้ำมันเครื่องที่ซื้อกันในท้องตลาด จะมีระบุวันที่ผลิตไว้ที่แกลลอนน้ำมันเครื่องทุกแกลลอน ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไป หากยังไม่ได้ใช้งาน ไม่ได้เปิดฝา และเก็บไว้ในที่ร่ม สามารถเก็บได้ประมาณ 3 ปี นับจากวันที่ผลิตครับ แต่หากมีการเปิดฝาใช้งานแล้ว ควรปิดฝาให้สนิท และเก็บในที่ร่ม ไม่อับชื้น ไม่โดนน้ำ สามารถเก็บได้ 1 ปี นับจากวันใช้งานครับ แต่ทั้งนี้ ก่อนใช้งานครั้งต่อไป ควรสังเกตลักษณะทั่วไปของน้ำมันเครื่องด้วยว่า ยังมีลักษณะใส และไม่มีฝุ่นละออง หรือน้ำปนเปื้อนนะครับ
รถเก่าแล้ว ใช้งานเกิน 7-10 ปี แล้ว ควรใช้น้ำมันหล่อลื่นชนิดไหน ความหนืดเท่าไร
ไม่ว่าจะเป็นรถเก่า หรือรถใหม่ สามารถใช้น้ำมันเครื่องได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันสังเคราะห์ กึ่งสังเคราะห์ หรือน้ำมันธรรมดา โดยหากเลือกใช้น้ำมันเครื่องชนิดสังเคราะห์ ก็จะช่วยในเรื่องการปกป้องเครื่องยนต์ ยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานกว่า เป็นต้น และหากสภาพเครื่องยนต์ยังดีอยู่ คือ ไม่มีอาการกินน้ำมันเครื่อง ก็สามารถเลือกเบอร์ความหนืดที่ใสขึ้นได้ เช่น SAE 5W-40 หรือ SAE 10W-30 เป็นต้น เพื่อช่วยในการประหยัดเชื้อเพลิง แต่หากสภาพของเครื่องยนต์ไม่ดี และมีอาการกินน้ำมันเครื่อง แนะให้ให้เลือกเบอร์ความหนืดที่ข้นขึ้น เช่น SAE 15W-40 หรือ SAE 20W-50 เป็นต้น เพื่อช่วยลดปัญหาดังกล่าว
รถยนต์ใช้งานน้อย วิ่งปีหนึ่ง ๆ ยังไม่ถึง 5,000 กม. จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายหรือไม่
จำเป็นครับ การที่รถยนต์ใช้งานน้อย ไม่ว่าจะเป็นการจอดทิ้งไว้เป็นเดือน หรือขับใช้งานในเมือง ที่มีการจราจรหนาแน่น ทำให้ระยะที่ขับขี่น้อย ถือว่าน้ำมันหล่อลื่นทำงานหนักครับ เพราะการจอดรถทิ้งไว้นาน ๆ จะเกิดการปนเปื้อนของน้ำในอากาศ ทำให้สารเพิ่มคุณภาพเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้น้ำมันเครื่องเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น อีกทั้งการขับขี่ในเมืองที่มีการจราจรหนาแน่น น้ำมันเครื่องก็ยังคงทำงานตลอดเวลาทั้งขณะรถติด และรถวิ่ง ดังนั้น จึงเป็นการควรที่จะพิจารณาระยะทางที่ขับขี่ ควบคู่ไปกับระยะเวลาที่เปลี่ยนถ่ายด้วย โดยเราควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งครับ
รถยนต์เติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ต้องใช้น้ำมันหล่อลื่นพิเศษหรือไม่
สภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ของรถที่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์ กับรถยนต์ที่ใช้เบนซินเป็นเชื้อเพลิง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความดัน หรืออุณหภูมิการทำงานไม่ได้มีความแตกต่างกัน ทำให้สภาวะการทำงานของน้ำมันหล่อลื่นจึงเหมือนเดิมตามไปด้วย ดังนั้น เราจึงสามารถใช้น้ำมันหล่อลื่นทั่ว ๆ ไป ที่ออกแบบมาสำหรับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน มาใช้หล่อลื่นในรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์เป็นเชื้อเพลิงได้ตามปกติ โดยมีระยะเวลาการเปลี่ยนถ่ายตามปกติทุกประการ อย่างไรก็ตามบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้คิดค้นและพัฒนาน้ำมันหล่อลื่นสูตรพิเศษ ที่ออกแบบพิเศษเพื่อรองรับผู้ขับขี่ที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 และแก๊สโซฮอล์ 91 โดยเฉพาะ ชื่อว่า “เพอร์ฟอร์มา แก๊สโซฮอล์” มาตรฐานสูงสุด API SM จากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์เบนซินประเภทกึ่งสังเคราะห์ โดยมีเบอร์ความหนืด SAE 10W–30 และ SAE 10W–40 ให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับสภาพการใช้งาน และสภาพของเครื่องยนต์ ช่วยให้รถคุณสตาร์ทเครื่องง่ายและลดการสึกหรอจากการสตาร์ท ช่วยให้ออกตัวและเร่งแซงดีเยี่ยม อีกทั้งเพิ่มสารคุณภาพพิเศษที่ทำให้เครื่องยนต์สะอาดกว่า และป้องกันปัญหาคราบโคลนได้อย่างดีเยี่ยม อีกทั้งยังช่วยประหยัดเชื้อเพลิงอีกด้วย
หวังว่าบทความ ถาม-ตอบ แบบนี้จะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่่นทุกท่านนะครับ ขอบคุณท่าผู้อ่านทุกท่านที่ติดตามบทความของเรามาโดยตลอด
Make a
free website
with
Yola